TL;DR
ถึงเวลาของแมวลายต่อไป ซึ่งเป็นลายที่โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์แถมยังมีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศไทยอีกด้วย ลายที่กำลังพูดถึงนี้ก็ คือ แมวลายแต้ม (ชื่อนี้แต่งขึ้นมาเอง เพราะไม่ทราบว่าภาษาไทยใช้คำว่าอะไร) หรือ Colorpoint cat นั้นเอง
กลับมาปั่น 3 ตอนสุดท้ายในซีรีย์ Cat Coat Pattern อีกครั้ง หลังจากหยุดไปนานกว่าทุกๆที จะโทษงานก็คงไม่เหมาะเท่าไร ต้องโทษความขี้เกียจส่วนตัวหนิแหละ //กราบขออภัย
สำหรับตอนก่อนๆ สามารถกดเข้าไปดูได้ตามลิงค์ด้านล่างนะฮ๊าฟ
สำหรับคราวนี้ ถึงเวลาของแมวลายต่อไป ซึ่งเป็นลายที่โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์แถมยังมีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งลายที่กำลังพูดถึงนี้ก็ คือ แมวลายแต้ม (ชื่อนี้แต่งขึ้นมาเอง เพราะไม่ทราบว่าภาษาไทยใช้คำว่าอะไร) หรือ อ้างอิงจากภาษาอังกฤษ ก็คือ Colorpoint
Colorpoint
Colorpoint cat นั้นมีต้นกำเนิดมาจากแมวพันธุ์วิเชียรมาศของไทยหนิเอง โดยเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนส์สีเผือก(albinism) ในแมว แทนที่เราจะได้แมวที่มีสีขาวทั้งตัว กลับกลายเป็นแมวที่มีแต้มเข้มในจุดต่างๆของร่างกายเพราะมันไม่เผือกอย่างสมบูรณ์
โดยการกลายพันธุ์นี้ของยีนต์นี้ ทำให้เอนไซน์ที่ชื่อว่า tyrosinase ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตเม็ดสีทำงานผิดพลาดในจุดที่มีอุณหภูมิต่ำๆ ซึ่งมีผลทำให้ร่างกายสามารถผลิต melanin หรือ เม็ดสีตามจุดนั้นได้ จึงกลายเป็นแต้มๆสีๆที่เป็นเอกลักษณ์
และด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ เราจะพบว่า แมวสีแต้มที่อยู่ในเมืองที่หนาวๆจะมีสีตามตัวเข้มกว่าแมวที่อยู่ตามเมืองร้อน ซึ่งนอกจากนี้แล้ว หากแมวสีแต้มเหล่านี้มีอาการป่วย หรือ โดนโกนขน อาจจะมีผลทำให้สีเปลี่ยนได้เลยทีเดียว //หนิมันแมวหรือกิ๊งก่าเนี๊ยะ
Colorpoint cat in winter
Colorpoint cat in summer
นอกจากนี้แล้ว เจ้าแมวแต้มนี้เหล่านี้มักจะมีสีขาวทั้งตัวในช่วงแรก จึงค่อนข้างยากในการแยกแยะว่าตัวไหนเป็นสีขาวล้วน หรือ แต้มๆ และจะค่อยๆเริ่มมีสีเข้มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโต โดยมักจะเข้มขึ้นไปเรื่อยจนแก่เลยทีเดียว So amazing cat~
ลักษณะสำคัญของแมวลายแต้ม ก็คือแต้มสีเข้มตามจุดต่างๆหนิแหละ ซึ่งประกอบไปด้วย 9 จุดสำคัญ คือ แต้มที่จมูกครอบไปถึงปากเป็นหนึ่งแห่ง กับขาทั้งสี่ หูสอง หางหนึ่ง และที่อวัยวะเพศอีกหนึ่ง รวมเป็น 9 แต้ม แต่อย่าลืมว่า แมวลายแต้ม Colorpoint นี้ไม่ใช่แมวเก้าแต้มตามบันทึกแมวมงคลในสมุดข่อยนะ อ่านใน ปล. ที่อยู่ด้านล่างสุดของบทความนี้ได้เลย
หลังจากอธิบายไปในข้างต้นแล้วว่า ก็คงได้ข้อสรุปสำคัญเหมือนๆกัน “แมวลาย colorpoint นี้ก็คือ แมวเผือกฉบับไม่สมบูรณ์ดีๆนี้เอง” ซึ่งจุดแต้มที่มีสีเข้มเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องมีสีดำ หรือ สีน้ำตาล (seal color) เสมอไป อาจพบ colorpoint ที่มีจุดแต้มเป็น สีส้ม(flame) สีเทา(blue) หรือ กระทั้งสีดอกบัว(lilac) ก็ได้เหมือนกัน ขึ้นกับยีนส์สีดังเดิมของมัน
สำหรับยีนส์เผือกฉบับสมบูรณ์ ยีนส์ c/c ที่เคยพูดถึงไปแล้วใน Ep.5 เมื่อเกิดการ mutation ยีนส์ที่ได้จึง โดนนิยามใหม่ กลายเป็น cs/cs นั้นเอง และนอกจากนี้ ยังมี cb/cb อีกตัว หรือ เรียกว่า Sepia Gene ซึ่งเป็นยีนส์ที่ให้ลักษณะคล้ายๆกับ cs/cs แต่มีความขี้เกียจมากกว่า หรือก็คือ มันไม่ค่อยทำหน้าที่ทำให้สีตามตัวของนางไม่เป็นสีขาว แต่เป็นแค่สีจางๆ แต่จุดแต้มก็ยังคงเป็นสีเข้มเหมือนกัน ซึ่งพบใน Burmise cat หรือ แมวพม่านั้นเอง
เพราะเหตุนี้ จึงเกิดเป็นการแบ่งชนชั้นภายในกลุ่ม colorpoint pattern เป็น 3 กลุ่ม คือ
- cs/cs : Pointed pattern มีความแตกต่างระหว่างจุดสีเข้มและสีจางมาก (high contrast) ซึ่งพบในแมวพันธุ์ Siamse, Himalayan, Birman, …
- cs/cb : Mink pattern มีความแตกต่างระหว่างจุดสีเข้มและสีจางปานกลาง (intermediate contrast) พบในแมวพันธุ์ Tonkinese
- cb/cb : Sepia pattern มีความแตกต่างระหว่างจุดสีเข้มและสีจางน้อย (low contrast) พบในแมวพันธุ์ Burmese
นอกจากนี้แล้วใน colorpoint pattern ก็อาจจะสามารถพบลาย tabby ปรากฏได้ด้วยเหมือนกัน #tabbyพ่อทุกสถาบัน เราจะเรียก เจ้า colorpoint + tabby ว่า lynx
และนอกจากนี้แล้ว ยังมีการพยายามผสมลาย colorpoint กับ white spotting gene ซึ่งทำให้เกิดแมวในลาย bicolor ใน EP.3 ด้วยเหมือนกัน เพื่อทำให้เกิดแมวลายแต้มที่มีจุดสีขาวเพิ่มเติม อย่างในแมวพันธุ์ Ragdoll
Colorpoint is not The Nine Marks [เก้าแต้ม]
จริงๆคิดหนักอยู่เหมือนกันว่า จะเรียก Colorpoint cat เป็นภาษาไทยว่าอะไรดี เพราะว่า ถ้าเรียกว่า แมวสีแต้ม อาจจะทำให้สับสนกับ แมวเก้าแต้ม ซึ่งเป็นแมวมงคลที่มีบันทึกในสมุดข่อย เช่นเดียวกับแมววิเชียรมาศ ซึ่ง แมวเก้าแต้ม กับ แมววิเชียรมาศ ถือเป็นแมวคนละสายพันธุ์กันนะเออ เพราะ ตามบันทึกที่อ้างอิงนั้น แมวเก้าแต้ม คือ แมวสองสี (bicolor cat) ที่มีลายดำ 9 จุดนะเออ //คงไม่ทำให้สับสนกันนะ