TL;DR

มันเป็นเรื่องสำคัญที่ เราต้องเข้าใจว่า สัญชาติญาณ, จุดยืน หรือ แนวคิดของเราทุกคน ไม่ได้ถูกต้องเสมอ ซึ่งความจริงแล้ว ส่วนมากมันก็มักผิดซะด้วย นักจิตวิทยาจึงจำเป็นต้องมีกระบวนการค้นคว้า และ ทดลองทางจิตวิทยาที่เหมาะสม เพื่อหลบหลีกผลกระทบจากอคติ หรือ ความเป็นมนุษย์ในตัวของเรา

Psychological Research

มันเป็นเรื่องสำคัญที่ เราต้องเข้าใจว่า สัญชาติญาณ, จุดยืน หรือ แนวคิดของเราทุกคน ไม่ได้ถูกต้องเสมอ ซึ่งความจริงแล้ว ส่วนมากมันก็มักผิดซะด้วย

หลายๆครั้งเราตัดสินคนนู้น คนนี้ว่า สิ่งที่คิด/สิ่งที่เขาทำ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เมื่อผลปรากฎออกมาว่า มันผิดจริงๆ เราจะพูดว่า “ฉันคิดอยู่แล้วว่าแบบนี้มันผิดแน่ๆ” แต่กลับกันเมื่อมันกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แล้วเราก็ยังคงมีเหตุผลหลายข้อสนับสนุนมัน เรามักบิดเบือนความคิดตัวเอง เพื่อสนันสนุนสิ่งที่เราพึ่งจะรับรู้ในปัจจุบัน นักจิตวิทยา เรียกเหตุการณ์์แบบนี้ว่า “Hindsight Bias” หรือ “I-Knew-It-All-Along phenomenon”

นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีกหลายเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่า เราไม่ควรเชื่อ สัญชาติญาณ ของตัวเราเอง เรามีแนวโน้มที่จะหากฎระเบียบจากเหตุการณ์ที่เป็นแค่เหตุการณ์สุ่ม เช่น เหตุการณ์ที่ลุงๆป้าๆ มักมีแนวโน้มที่จะพยายามหารูปแบบของการออกหวย จากหวยงวดก่อนๆ ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่ามันเป็นระบบสุ่ม

นี้จึงเหตุผล ทำให้เราจำเป็นต้องมีกระบวนการค้นคว้า และ ทดลองทางจิตวิทยาที่เหมาะสม เพื่อหลบหลีกผลกระทบจากอคติ หรือ ความเป็นมนุษย์ในตัวของเรา

โดยส่วนใหญ่แล้ว กระบวนการทางจิตวิทยา มักไม่แตกต่างจากวิทยาศาสตร์แขนงอื่นมากนัก ซึ่ง มักจะเริ่มจาก การตั้งคำถามในสิ่งที่เราสนใจ แล้วเปลี่ยนคำถามเพื่อนำไปสู่สิ่งที่สามารถตรวจสอบและวัดผลที่แน่นอนได้ เราเรียกกระบวนการนี้ว่า “operationalizing your questions”

และมันก็จะนำไปสู่การตั้งทฤษฏี (Theory) เพื่อหาคำอธิบายว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากอะไร” สุดท้ายก็จะจบลงด้วยการตั้งสมมติฐาน (Hypothesis) เพื่อตรวจสอบแนวคิดของเรา

ถ้าวันนึ่ง /me กำหนด Espresso Hypothesis ขึ้นว่า “การกินกาแฟช่วยให้เราเก่งขึ้น” แค่นี้ ดูเหมือนจะไม่เพียงพอ เพื่อให้ได้ทฤษฏีและสมมติฐานที่เหมาะสม /me ต้องอธิบายคำว่า “เก่งขึ้น” ในความหมายที่ชัดเจน เพื่อให้คนอื่นสามารถทำซ้ำ และตรวจสอบได้

การทำซ้ำ ก็คือ คีย์เวิร์ดสำคัญของกระบวนการทางจิตวิทยา เพราะ พฤติกรรมที่แสดงออกมาเพียงครั้งเดียว ไม่สามารถพิสูจน์อะไรมากนัก แต่ถ้าหากพฤติกรรมนั้นยังคงอยู่ ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนสถาณการณ์ไปแล้ว มันจึงจะกลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะเราสามารถหาเหตุผลมาอธิบายความเกี่ยวโยงของมันได้

กระบวนการทางจิตวิทยาที่สำคัญในการเก็บข้อมูล อันหนึ่ง ก็คือ Case Studies (กรณีศึกษา) ซึ่งเป็นการศึกษารายละเอียดตื้นลึกหนาบางของคนๆหนึ่ง หรือ กลุ่มๆหนึ่งเฉพาะเจาะจงไปเลย ซึ่งกรณีศึกษาเหลานี้ อาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ง่าย เพราะว่า โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ทุกคนล้วนแตกต่างกัน การศึกษาแค่คนใดคนหนึ่ง แค่คนเดียว อาจจะทำให้เกิดการ over-generalizing ได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาแบบ Case Studies สามารถแสดงให้เห็นว่า “เหตุการณ์เหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จริงๆ” ซึ่งมันจะนำไปสู่การตั้งคำถามที่ในแง่มุมที่กว้างมากขึ้น แต่ก็ต้องศึกษาหลายๆกรณี เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เหมาะสม

อีกวิธีการที่ใช้ในการศึกษาและรวบรวมข้อมูลทางจิตวิทยา คือ Naturalistic Observation เป็นการศึกษาพฤติกรรมตามธรรมชาติโดยตรง โดยไม่มีการควบคุมสภาพแวลล้อมใดๆ ซึ่งนั้นอาจจะหมายถึงการเดินป่าเพื่อไปสังเกตพฤติกรรมของลิงตอนกำลังตามหากล้วยหอม หรือ การปลอมเข้าไปศึกษาพฤติกรรมของกรรมกรในโรงงาน ซึ่งการสังเกตแบบนี้ก็มักมีข้อโต้แย้งเหมือนๆกันกับการศึกษาแบบ Case Studies

นอกจากนี้แล้ว นักจิตวิทยาสามารถเก็บข้อมูลพฤติกรรม หรือ ความเห็นต่างๆได้จากกระบวนการสำรวจ (Surveys) หรือ สัมภาษณ์ (Interviews) แต่การสำรวจเหล่านี้ ต้องอาศัยเลห์กลบางอย่างเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง เพราะบางคำ หรือ บางประโยค อาจจะมีผลต่อผลลัพธ์ เช่น การใช้คำว่า “ห้าม” กับ คำว่า “ไม่อนุญาต” มักจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างกัน หรือ การตั้งคำถามว่า “คุณเชื่อว่าจะมีเอเลี่ยนต่างดาวรึปล่าว? (Do you believe in space aliens?)” กับ “คุณเชื่อว่าจะมีสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญาชนิดอื่นในอวกาศรึปล่าว” (Do you think that there is intelligent life somewhere else in the universe?) ดูเหมือนว่าทั้ง 2 จะเป็นคำถามที่มีความหมายเดียวกันแต่ ดูเหมือนว่า คำถามแรกจะให้ความหมายโดยนัยว่า มนุษย์ต่างดาวนั้นจะต้องมาที๋โลกของเราแล้ว

นอกจากคำถามจะเป็นส่วนสำคัญแล้ว คนที่จะมาตอบคำถาม ก็เป็นอีกส่วนที่จำเป็น //เอิ่มมมมม ก็จริงนะ ถ้าไปสำรวจปัญหารถแท็กซี่กับคนหนองคาย ก็คงได้คำตอบไม่เหมาะสม

แต่ปัญหาสำคัญของการสำรวจ ก็คือ เราไม่สามารถสำรวจทุกๆคนที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เราสนใจได้จริงๆ ทำให้เราต้องเลือกสำรวจแค่กลุ่มคนบางกลุ่มเพื่อเป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด ซึ่งถ้าหาเลือกกลุ่มประชากรไม่ดี ก็จะทำให้เกิด sampling bias ได้

เราจึงจำเป็นต้องสุ่ม นั้นหมายความว่า ทุกๆคนในกลุ่มเป้าหมายที่เราจะศึกษาจะได้รับโอกาสเท่าๆกันที่จะโดนสำรวจ

หลังจากนักจิตวิทยารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรม ด้วยวิธีการ surveys, case studies หรือ naturalistic observation รายการที่ต้องทำต่อมาก็คือ การตรวจสอบหารูปแบบ และความสัมพันธ์ในแต่ละพฤติกรรม

แต่คำเตือนสำคัญที่ต้องรู้ คือ “correlation is not causation” ความสัมพันธ์ไม่ได้หมายความว่า มันจะต้องเป็นสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความสัมพันธ์ไม่ใช้การพิสูจน์ มันเพียงแค่ แสดงถึงโอกาสที่สองเหตุการณ์จะมีความสัมพันธ์กันในเชิงสาเหตุ/ผลลัพธ์ “correlations predict the possibility of cause-and-effect relationships”

ดังนั้นเมื่อเรามองเห็นแนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละพฤติกรรมได้แล้ว สิ่งสุดท้าย ก็คือ การทดลอง (Experiments) ซึ่งเป็นการกำหนดระบบปิดที่สามารถควบคุมสภาพแวลล้อมต่างๆ ได้ และนำ เหยื่อ กลุ่มคนตัวอย่าง อย่างน้อย 2 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะได้ทดสอบที่ไม่เหมือนกัน ตามหัวข้อที่เราสนใจ

หลายๆครั้งที่ เหยื่อของเรา มักไม่รู้โดยละเอียดว่าตัวเองจะโดนทดสอบอะไรบ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงผลจากการ bias ให้ได้มากที่สุด และหลายๆครั้งที่นักวิจัยจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ใคร อยู่ในกลุ่มตัวอย่างอะไรบ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเรียกวิธีการนี้ว่า “a double blind procedure”

กระบวนการทั้งหมดเหล่านี้ คือวิธีการที่นักจิตวิทยาใช้ เพื่อศึกษาพฤติกรรมอันซับซ้อนของมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ยังมีอีกหลายพฤติกรรมที่ยังคงเป็นปริศนารอการตั้งสมมติฐาน และรอการทดลอง :)

Vocabulary

  • psychedelic : n. ยาทำให้ประสาทหลอน
  • hallucinations : n. อาการประสาทหลอน
  • to draw : v. คำนี้ ฟังรอบแรก ไม่เข้าใจเลย จนพึ่งรู้ว่า มันไม่ได้แปลว่า วาดรูป อย่างเดียว แต่มีความหมายว่า ดึงดูดความสนใจ ได้ด้วย
  • intuition : n. สัญชาติญาณ จริงๆแล้ว ก็ไม่ตรงซะทีเดียวนะ
  • to be in place : phase. พร้อม, หรือ กำลังดำเนินการ
  • douse : v. สาดน้ำ
  • mingle : v. ผสม
  • consent : v. ยอมรับ
  • placebo : n. ยาหลอก ที่ทำให้คนไข้คิดว่ากินยา แต่ไม่ได้มีฤทธิ์ยา