TL;DR
ที่บอกว่า “แมวได้เป็นนักฟิสิกต์” ครั้งนี้ /me ไม่ใช่การเปรียบเปรยใดๆ แต่ บังเอิญว่ามีแมวได้เป็นนักฟิสิกต์จริงๆนะ แถมยังได้เขียนเปเปอร์ในงานประชุมวิชาการอีกด้วย ดูเหมือนเป็นสิ่งไม่น่าเชื่อ แต่มันเป็นความจริง
เรื่องราวเกิดขึ้นในปี 1975 โดย prof. Jack H. Hetherington จากมหาวิทยาลัย Michigan State University ซึ่งทดสอบพฤติกรรมของ He-3 ในอุณหภูมิต่างๆ ซึ่งเป็นการทดลองที่ค่อนข้างสำคัญมากเลยทีเดียว หลังจากได้ผลการทดลองแล้ว เขาพยายามตีพิมพ์ผลการทดลองของเขาใน Physical Review Letters แต่ดันมีปัญหาที่คาดไม่ถึง!
หลังจากการรีวิวของเหล่าผู้เชี่ยวชาญ พบว่า บทความของเขามีข้อผิดพลาด คือ เขาดันใช้ “we” ที่หมายถึง พวกเรา แทนที่จะเป็น “I” ทั้งๆที่ผลงานนี้มี author แค่คนเดียว
การเลือกที่จะเปลี่ยน we ทั้งบทความ ก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก เพราะนั้นหมายความว่า เขาต้องรีวิวข้อความทั้งหมดใหม่อีกครั้ง ( สมัยนั้นคงไม่มี Ctrl+F ซินะ) และการหาใครซักคนมีแชร์ผลงานที่เขาอุตส่าห์ทำด้วยตัวคนเดียวก็ดูเหมือนจะไม่ใช้ไอเดียที่เขาต้องการ
Prof.Hetherington จึงเลือกที่จะให้ Chester แมวประจำครอบตัวของเขา เป็น co-author ด้วยซะเลย เขาตั้งเลือกใช้นามสกุล Willard จากชื่อแม่แมวของเจ้า Chester และตั้งนามปากกาของเจ้า Chester ว่า F.D.C. Willard ซึ่งย่อมาจาก Felis Domesticus Chester Willard
และกลายเป็นว่าบทความของเขา ก็ดันผ่านการคัดกรอก โดนตีพิมพ์จริงๆ ในชื่อ Two-, Three-, and Four-Atom Exchange Effects in bcc ^3He. เจ้า Chester จึงกลายเป็น แมวนักฟิสิกส์อนุภาคตัวแรกของโลกเลยทีเดียว
หลังจากนั้น F.D.C. Willard ยังคงตีพิมพ์บทความของตัวเองในวารสาทวิชาการ เกี่ยวกับ He-3 อีกครั้ง ในนิตยสาร ชื่อ La Recherche แล้วเขาก็อำลาวงการ และห่างหายไปจากวงการฟิสิกต์
ความจริงแล้ว เรื่องราวของ F.D.C. Willard เป็นเรื่องหนึ่งที่โด่งดังมากๆเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว จนมีประกาศจาก the American Physical Society ให้บทความทั้งหมดของ F.D.C. Willard สามารถเข้าถึงได้แบบฟรีๆ และจะมีการพิจารณาแจกบทความอื่นๆที่เขียนโดยเจ้าแมวเหมียวอีกในอนาคต [April 1, 2014]
//เป็นประกาศตลกๆ ประจำวัน April Fools’ Day นะ แต่บทความนี้เข้าถึงได้แบบฟรีจริงๆ