TL;DR

ทุกวันนี้ การศึกษา psychology เป็นการศึกษาที่รวมกันระหว่างหลายๆแนวคิด (schools of thought) และ หลายๆกระบวนการเข้าไว้ด้วยกัน เพื่ออธิบายความหมายของคำว่า “จิตใจ” ซึ่งถือเป็นชิ้นส่วนที่ซับซ้อนที่สุดในจักรวาล

ก่อนอื่นอยากเล่าให้ฟังว่าช่วงนี้ /me ต้องฝึก ฟัง-พูด-อ่าน-เขียน ภาษาอังกฤษเยอะๆ เลยถือโอกาสเอาบล๊อคมาเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกไปด้วยเลย ซึ่งบางทีมันก็น่าเบื่อเอามากๆ ภาษาเป็นเรื่องของการฝึกฝนเยอะๆ ไม่ใช่เรื่อง logic ที่แค่เข้าใจก็พอ

หนึ่งในการฝึกการฟังของ /me คือ youtube หนิแหละ เปิดฟังไปเรื่อยๆ ด้วยเพราะว่าเป็นคนเนิร์ดที่ชอบเรื่องวิชาการๆ อยู่แล้ว เลยเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆไปด้วยในตัว ซึ่งก็มี channel ดีๆน่าสนใจที่น่าติดตาม อย่าง minutephysics, Vsauce, Numberphile และ CrashCourse

ปัญหาจากการฟัง youtube ใน field ที่ไม่คุ้นเคย คือ แปลไม่ทัน ฟังไม่รู้เรื่อง เพราะว่า ไม่มีศัพท์ จริงๆมันเป็นปัญหามากๆเลยทีเดียวสำหรับคนที่มีคลังศัพท์น้อยอย่าง /me ซึ่งทำให้ต้องฟังแล้ว pause แล้วแปลศัพท์จาก scipt แล้ว resume ทำแบบนี้บ่อยๆจนเหนื่อยมาก ทำไปทำมา ก็นึกครึ้มว่า ทำไมไม่เขียนบล๊อคสรุปคลิปที่ฟังซะเลย เผื่อคนอื่นจะลองเข้าไปฟังด้วยกัน ~

สำหรับ ตอนนี้ก็เป็นตอนแรกใน Crash Course Psychology ของ CrashCourse โดยมี Hank Green มาเล่าสรุปเรื่องราวคร่าวๆของจิตวิทยาให้ฟัง ซึ่งมันน่าสนใจมากๆ อาจจะได้ศัพย์เกี่ยวกับ emotional กลับไปฝึกอีก

และสำหรับใครคนที่กังวลเกี่ยวกับเรื่อง “ลิขสิทธิ์” /me ได้ติดต่อกับทาง CrashCourse ขออนุญาตว่าจะแปลอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเรียบร้อยแล้ว ไม่น่าเชื่อเหมือนกันว่า มันจะง่ายขนาดนี้ //ดีใจ Intro to Psychology

คำว่า “psychology” เป็นคำจากภาษาละติน ซึ่งแปลว่า “study of the soul.” หรือ การศึกษาจิตวิญญา แต่พึ่งมีการจำกัดความแน่นอน ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา

Psychology is the scientific study of behavior and mental processes [ศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรม และ กระบวนการเกี่ยวกับจิตใจ]

จิตวิทยานี้ จึงเป็นพยายามตอบปัญหาสำคัญของมนุษย์ หลายๆข้อ อย่าง

  • ทำไมบางคนถึงกล้าทำเรื่องโหดร้าย อย่างการทรมาณคนอื่น หรือ ฆ่าล่างเผ่าพันธุ์
  • เรารู้ได้อย่างไรว่า เรื่องพวกนี้คือเรื่องโหดร้าย
  • เราทุกคนมี free will จริงๆรึปล่าว หรือ เป็นแค่เรื่องของสารเคมีในสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว?
  • อะไรคือ อาการป่วยทางจิต แล้วเราจะรักษามันได้ยังไง?
  • อะไรคือ consciousness, the notion of self

โดย ศาสตร์นี้พึ่งมามีบทบาทสำคัญ ในช่วงปี 1960s แต่เริ่มมีความเป็นวิทยาศาสตร์ ชัดแจนในช่วง mid-1800s

ในช่วงเริ่มต้น คนแรกๆ ที่พูดถึง ที่มาของจิตใจและพฤติกรรม คือ Aristotle ว่า จุดกำเนิดของพฤติกรรมของเรามาจากหัวใจ //ไม่ได้เป็นการเปรียบเทียบนะ แต่หมายถึงหัวใจจริงๆ พร้อมกับหลักปรัชญาต่างๆ

นอกจาก Aristotle แล้ว แนวคิดทางจิตวิทยายังมีการพัฒนาในโลกตะวันออกด้วยเหมือนกัน เมื่อประมาณ ช่วง 2200 B.C. จักรพรรดิจีน มีการออกข้อสอบจอหงวน ใช้ในการทดสอบจิตใจ และ สติปัญา ถือเป็น The first psychological exam เลย

ต่อมาในช่วง คศ. 800s หมอชาวเปอร์เซีย Muhammad ibn Zakariya al-Rhazes ถือเป็นคนแรกที่พูดถึงอาหารป่วยทางจิต และเริ่มทำการรักษาเป็นครั้งแรก

แต่การศึกษาจิตวิทยาอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นขึ้นในประเทศเยอรมัน ปี 1879 โดย Wilhelm Wundt ที่ University of Leipzig ซึ่ง Wundt และลูกศิษย์ของเขา Edward Bradford Titchener มีความเห็นว่า ในขณะที่สสารทุกอย่างสามารถแยกย่อยออกมาเป็นองค์ประกอบชิ้นเล็กๆได้, จิตใจก็น่าจะทำแบบนั้นได้ด้วยเหมือนกัน

เขาจึงเริ่มศึกษา consciousness ของคนไข้จากการแยกย่อยองค์ประกอบการรับรู้ต่างๆ (introspection) ex. เราจะรู้สึก/รับรู้ อะไรบ้างหลังจาก ดูพระอาทิตย์ตก หรือ นั่งกินกาแฟ ซึ่ง Wundt เรียกแนวคิดนี้ว่า “structuralism” แต่ดูเหมือนว่า แนวคิดนี้ จะยึดติดกับการรับรู้ของคนมากเกินไป เพราะ ถึงแม้จะเป็นเค้กก้อนเดียวกัน แต่ละคนกิน ก็รับรู้ต่างกัน ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องยากที่จะแยกองค์ประกอบตามที่ Wundt เสนอ

แนวคิดต่อมา เริ่มต้นจากนักฟิสิกต์ชาวอเมริกา William James โดย James นำเสนอแนวคิดที่ต่างออกไป แทนที่เราจะมาสนใจ โครงสร้าง consciousness หันมาสนใจการทำงานของมันจะดีกว่ารึปล่าว? ดังนั้น James จะเริ่มศึกษา ว่า ทำไมเราถึงมีพฤติกรรมแบบนั้น แบบนี้?, เรารู้สึกกลัว, รัก, โกรธ, … ได้ยังไง? และ ความคิดส่วนต่างๆ มันทำงานร่วมกันได้อย่างไร? แนวคิดนี้ จึงโดนเรียกว่า “functionalism”

ต่อมาในปี 1886 Sigmund Freud เริ่มเข้ามามีบทบาททางด้านจิตวิทยา โดยเขาร่วมมือกับ Josef Breuer เริ่มต้นจากการรักษา Anna O โดยการพูด (talking cure) ซึ่งกลายเป็นว่า การรักษาแบบนี้ ทำให้อาการของ Anna ดีขึ้นๆ มันจึงกลายมาเป็นแนวคิดสำคัญในการศึกษาของ Freud

Freud กล่าวว่า นิสัยและความคิดของเรา เป็นส่วนที่เกิดจากจิตใต้สำนึกของเรา ซึ่งเราไม่สามารถรับรู้มันได้ (our personalities are shaped by unconscious motives) แต่เราสามารถเข้าใจมนได้ผ่านความฝัน, การโทษผู้อื่น (projections) หรือ การทำความเข้าใจตัวเอง (gain self-insight) ซึ่ง Freud เปรียบจิตของมนุษย์เป็นเหมือนภูเขาน้ำแข็งกลางทะเล ที่มี subconsciousness อยู่ใต้ทะเล

ซึ่งเขาได้ เขียนหนังสือ The Interpretation of Dreams ขึ้นมาในปี 1900 และมันจึงเป็นต้นกำเนิดของ “psychoanalysis” ซึ่งอย่างที่รู้กัน ผลงานของ Sigmund Freud เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับจิตวิทยา ถึงแม้ว่าจะมีความคิดอื่นที่แย้งแนวคิดของเขา แต่ก็พูดได้ว่า เขาเป็นคนวางรากฐานให้กับจิตวิทยาในปัจจุบัน //กราบ

ต่อมาใน ศตวรรษที่ 20 แนวคิดสำคัญอีกหนึ่งแนวคิดก็เกิดขึ้น จากคน 3 คน คือ Ivan Pavlov, John B. Watson, และ B. F. Skinner พวกเขาเริ่มต้นแนวคิด “behaviorism” ซึ่งเชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์สามารถเข้าใจได้ ผ่านการศึกษาพฤติกรรม การตอบสนอง และความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละเหตุการณ์ (observable behavior)

ซึ่งการทดลองหนึ่งซึ่งโด่งดังของ Skinner ก็คือการทดลองจับสัตว์ต่างๆ อย่าง หนู, นกพิราบ หรือแม้กระทั้งเด็ก ใส่กล่อง แล้ววางเงื่อนไข เพื่อให้แสดงพฤติกรรมบางอย่างออกมา

นอกจากนี้แล้วยังมีแนวคิด อีกหลายอันที่พัฒนาต่อๆมา หนึ่งในนั้น คือ psychodynamic ซึ่งเป็นการต่อยอดจาก psychoanalysis ของ Freud โดยสนใจว่า ประสบการณ์ เข้ามามีบทบาทใน unconsciousness ได้อย่างไร? แล้วมันมีผลกระทบต่อ แนวคิด, ความรู้สึก, พฤติกรรม และนิสัยของเราได้อย่างไร? บลาๆ

ทุกวันนี้ การศึกษา psychology เป็นการศึกษาที่รวมกันระหว่างหลายๆแนวคิด (schools of thought) และ หลายๆกระบวนการเข้าไว้ด้วยกัน เพื่ออธิบายความหมายของคำว่า จิตใจ

Your mind is the most complicated piece of the universe that humans currently know about. Maybe our brains just aren't complex enough to understand themselves. But that's not going to stop us from trying. ― Hank Green

// ดูเหมือนว่า Hank Green จะพูดทุกอย่างเร็วมากกกกกกกก

Vocabulary

  • consciousness : n. ความตระหนักรู้ ความจริงคำนี้ ตีความหมายจริงๆยากมาก ปกติ /me จะทับศัพย์ไปเลยเพราะความหมายกว้าง
  • coined : ปกติ แปลว่า n. เหรีญ แต่พอเป็น v. มีความในเชิงของการสร้าง(คำ)
  • curious : adj. อยากรู้อยากเห็น
  • introspection : n. การทบทวนความคิดหรือความรู้สึกของตัวเอง
  • subjective : adj. มี 2 ความหมายคือ เป็นแนวคิดส่วนตัวขึ้นกับบุคคล หรือ เรื่องเกี่ยวกับนามธรรม/จิตใจ
  • objective : adj. (แถม) เพราะ /me มักสับสนระหว่าง subjective/objective มาก สำหรับคำนี้ จะมีความหมายตรงข้ามกับ subjective แต่อาจจะเป็น n. แปลว่า เป้าหมาย ก็ได้
  • witness : v. เป็นพยานรับรู้เหตุการณ์
  • treat : v. รักษา หรือ ปฏิบัติต่อ
  • traumatic : adj. เกี่ยวกับบาดแผล
  • unconscious : adj. ซึ่งไม่ได้สติ
  • aware : adj. รับรู้
  • repressed : v. อดกลั้น
  • confine to : v. ถูกบังคับให้ทำ…
  • sanatoriums : n. สถานพักฟื้นสำหรับผู้ป่วย
  • shackle : n. กุญแจมือ
  • nurturing : n. การเลี้ยงดู
  • amalgamate : v. รวมกัน
  • pry : v. สอดรู้สอดเห็น
  • genocide : n. การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
  • torture : n. การทรมานให้เจ็บปวด