TL;DR

Birdman หนังเสียดสีสังคม ที่มากับเสียงแบ๊กกราวน์เท่ห์ๆ และ เทคนิคการถ่ายที่ไม่เหมือนใคร


[ประกาศ] Birdman ได้รางวัล Oscar สาขา Best Picture ด้วยนะเออ
ไม่ใช่ค๊อกเทลทุกแก้ว จะเหมาะกับคนทุกคน -- @ขี้เมาภาคคอม

Birdman ก็ถือเป็นหนังเรื่องนึง #ที่ไม่ใช่หนังสำหรับทุกคน ถ้าคิดจะชวนแฟนไปดู เพราะว่า มันดูเหมือนหนังซุปเปอร์ฮีโร่ หรือ คิดว่ามันเป็นหนังตลกละก็ อย่าไปดูเลย!! แต่ถึงจะเข้าใจยาก ไม่ยากเกินไปที่จะลองทำความเข้าใจ สำหรับคอหนังหลายๆคน น่าจะชอบกันมาก ถึงกับได้ IMDB ถึง 8.1 เลยนะ!! [IMDB]

เนื้อเรื่องของหนัง เป็นเรื่องของ ริกแกน ธอมสัน ที่เป็นนักแสดงที่เคยโด่งดังมาก่อน ด้วยบท Birdman ในอดีต พยายามพลิกเปลี่ยนแปลงตัวเองให้กลายเป็น ผู้กำกับ/นักแสดง ละครเวที #ทะเยอทะยานจะเป็นที่จดจำ ซึ่งเห็นได้จากหลายๆฉาก โดยเฉพาะในหนังบทที่ ริแกนบอกว่า “เขาไม่อยากเป็นเป็นแค่เชิงอรรถเล็กๆเพราะตายในวันเดียวกับไมเคิล แจ๊คสันตาย” ซึ่งในประเด็นนี้เป็นก็เป็นความกลัวสำหรับหลายๆคน #ความกลัวการจางหายไป

นอกจากนี้ หนังนำเสนอ #ภาพลักษณ์ที่สังคมมอง ออกมาเป็น เสียงแปลกๆพูดกับ ริแกน หรือ บางทีก็มาอยู่ในรูป Birdman ซึ่งเป็นภาพที่สังคมคาดหวัง หลายๆครั้งที่เราโดนกดดันเพราะสังคมตัดสินใจในตัวตนของเรา (ดูๆไปทำให้นึกถึงนวนิยายรางวัลซีไรต์เรื่อง “คำพิพากษา”)

ความกดดันเพื่อให้สังคมยอมรับ+ความทะเยอทะยายที่จะต้องเป็นที่จดจำในรูปแบบของคนดัง แคร์สิ่งแวลล้อมแล้วบิดเบือนตัวตนของตัวเองต่อไปเรื่อยๆ เหมือนอย่างในการแสดงของริแกน สุดท้ายแล้วก็ต้องพบกับหายนะ จนพังไปซะทุุกครั้ง

  • อย่างในตอนแรกที่ ริกแกน พยายามเอา ไชเนอร์ มาเพื่อให้เกิดการยอมรับจากสังคม แต่ก็พังเพราะความอาร์ตของไชเนอร์
  • ในครั้งต่อๆมา ก็เผอิญโดยล๊อคประตู ถึงกับต้องเดินในสภาพกางเกงในตัวเดียว กลางถนน ทนความอับอาย เพื่อให้ไปทันการแสดง

ในหลายๆฉาก สะท้อนภาพ ริแกน กับ พลังแปลกๆ อย่าง ลอยได้บ้าง มีพลังจิตบ้าง แต่ตบกลับด้วยการสิ่งที่เป็นจริง อย่างในฉากที่ เห็นว่า ริแกนลอยกลับมาที่ประตูโรงละคร สุดท้าย ก็ตบด้วยภาพของคนขับแท๊กซี่เข้ามาทวงตังค์ ย้ำให้เราคิดว่า ไม่ว่าเราจะหลุดจินตนาการไปแค่ไหน เราก็ต้องกลับมาอยู่กับ #ความจริง แต่ไม่ผิดนะที่จะฝันๆเพ้อๆไปบ้าง

จุดสำคัญที่ทำให้หนังเรื่องนี้น่าจะเป็นที่ชื่นชอบของ คอหนังหลายๆคน เพราะ #ความตลกร้าย ของ Birdman ที่จิกกัด ทั้งผู้สร้างภาพยนต์ นักแสดง นังวิจารย์ แถมยังจิกกัดคนดู อย่างการจิกกัด #ผู้สร้างภาพยนต์ ที่ชอบผลิตแต่หนัง superhero เพราะว่ามันขายได้ หรือ การแซวอิทธิพลของนักวิจารณ์ที่แค่เขียนไม่กี่ประโยคก็ทำลายความพยายามของคนนับร้อยลงอย่างง่ายดาย แถมยังแทรกมาวิจารณ์ #คนดู ที่ดันไปให้ค่ากับอะไรที่เป็น “กระแส” มากกว่าให้ค่าที่ “ความสามารถที่แท้จริง”

และที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เรื่องนี้มีเสน่ห์มากๆ คือ รูปแบบของหนังซึ่งถ่ายทำแบบ long-take #ก๊อปศัพย์เค้ามา ที่ทำให้ดูเหมือนเรื่องมันต่อไปเรื่อยๆ กับจังหวะกลอง ที่ไม่ใช่ควบคุมอารมณ์คนดูเหมือนอย่าง Whiplash แต่แทรกมากเพื่อความไหลลื่นของหนัง

สุดท้ายแล้ว เมื่อลองหยุดมองสังคมรอบข้าง ทำอย่างที่ต้องการ อาจจะมีความสุขที่สุดก็เป็นไปได้

A thing is a thing, not what is said of that thing