TL;DR
Arrival เป็นหนังไซไฟเรื่องหนึ่งที่ /me ตั้งตารอมาตั้งแต่ต้นปี ที่น่าตื่นเต้น คือ การหยิบภาษาศาสตร์มาใช้ในหนังได้อย่างน่าสนใจ กับภาพ CG และ Soundtrack ฮามๆ
Arrival เป็นหนังไซไฟเรื่องหนึ่งที่ /me ตั้งตารอมาตั้งแต่ต้นปี โดยทั่วไปแล้ว /me พบว่าพักหลังๆ หนังไซไฟมักมาในรูปแบบ superhero อย่างตระกูลหนัง DC/Marvel หรือ ไม่ก็ romantic sci-fi อย่าง Passenger, Up side down, In time แต่หนังเรื่องนี้กลับมาในธีม sci-fi drama มีทฤษฎีต่างๆมาแบบจัดเต็ม ดูเป็นหนังนอกกระแสพอสมควร แต่ไม่ทำให้ /me ผิดหวังเลย สามารถเทียบกับ sci-fi รุ่นพี่ อย่าง Interstellar หรือ Contact ได้สบายๆ
สำหรับหนังเรื่องนี้ เป็นหนังที่สร้างจากเรื่องสั้นชื่อ “Story of Your Life” โดย Ted Chiang แต่กำกับ โดย Denis Villeneuve ซึ่งมีผลงานเป็นหนังดราม่า “เข้าใจยาก” มาแล้วหลายๆเรื่อง #ฉันดูแล้วยังไม่เข้าใจเลยพี่บัวลอย แต่เรื่องนี้ ท่านผู้กำกับ Denis Villeneuve ทำได้ลงตัวมากมาย ทั้งเทคนิคการถ่ายทอดเรื่องราว การออกแบบฉาก/ตัวละคร และองค์ประกอบต่างๆ โดยเฉพาะเสียงประกอบฉากที่มีทั้งความ mystery และ fascinated มาก ทำให้ /me อินสุดๆในหลายๆฉาก
โดยเนื้อเรื่องทั้งหมด เป็นเรื่องราวของการมาของยานอวกาศต่างดาว 12 ลำที่อยู่ๆก็ปรากฏขึ้นมา โดยไม่มีใครรู้จุดประสงค์ และมี Louise Banks ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษา และ Ian Donnelly อาจารย์ด้านฟิสิกต์ เป็นแกนนำในการพยายามเพื่อหาจุดประสงค์ของการมาในครั้งนี้ ดังนั้นแกนหลักสำคัญของหนังเรื่องนี้ คือ ความพยายามในการทำความเข้าใจ “จุดประสงค์” ของมนุษย์ต่างดาว ที่ในหนังเรียกว่า “Heptapod”
ถือเป็นความแปลกใหม่ของวงการหนังไซไฟมาก เพราะเป็นเรื่องที่หยิบเอาภาษาศาสตร์มาเป็นแกน จากเดิมที่มักจะเป็นเรื่องราวของฟิสิกต์ เคมี ชีวะ และไม่น่าเชื่อว่า ภาษามีผลกระทบกับความคิดเราได้มากขนาดนี้
โดยสิ่งที่ Arrival หยิบมาใช้เป็นหัวใจสำคัญ ของเรื่องคือ Sapir-Whorf hypothesis ซึ่งกล่าวไว้ 2 ข้อ
Linguistic determinism
: ภาษาเป็นตัวกำหนดความคิดและเป็นกรอบมุมมองโลกของทุกๆคนในสังคมLinguistic relativity
: คนสองคนที่ใช้ภาษาต่างกันจะคิดและมองโลกต่างกันเนื่องจากมีคำและไวยากรณ์ที่ต่างกัน
หรือพูดในอีกแง่หนึ่งว่า “ภาษา” เป็นเครื่องมือที่สามารถเปลี่ยนแปลงความคิดของคนในสังคมได้ ดูแล้วเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก และ ยังมีนวนิยายหลายเรื่องที่พูดในแง่มุมคล้ายๆกันนี้ อย่าง 1984 ของ George Orwell
สุดท้ายแล้ว จุดประสงค์ของ Heptapod ก็โดยเปิดเผยในท้ายๆเรื่องว่า เป็นการมาเพื่อเสนอความรู้ทางภาษาของตนเองให้กับมนุษย์ โดยภาษาของ Heptapod เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็น nonlinear language ซึ่งทุกๆคำที่ต้องการสื่อ จะต้องเขียนออกมาในรูปของวงกลม คล้ายๆรอบเปื้อนกาแฟใต้ก้นแก้ว //กรรม
และเอกลักษณ์ที่สำคัญอีกอย่าง คือ การที่ภาษาของ Heptapod ไม่มีคำที่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา ซึ่งหมายความว่า พวกเขาอยู่เป็นอิสระกับเวลา ซึ่งหมายความว่าในมุมมองของ Heptapod เวลาไม่ได้เป็นเส้นตรงที่มีจุดเริ่มและจุดจบอย่างที่เราเข้าใจ
จาก Sapir-Whorf hypothesis จึงให้ข้อสนับสนุนว่า การศึกษาภาษาของ Heptapod สามารถทำให้เราเป็นอิสระในมุมมองของเวลา และมีมุมมองต่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป เมื่อเราพบว่าเวลาไม่ได้เป็นเส้นตรง ดังนั้นคำว่า “อนาคต” “ปัจจุบัน” และ “อดีต” จึงไม่มีความหมายอีกต่อไป เราจะสามารถรับรู้ได้ว่า ทุกๆช่วงของเวลาของสิ่งเดียวกัน และสามารถรับรู้ และอยู่ในทุกๆช่วงเวลาพร้อมกันได้
//ไม่ต้องใช้ Einstein-Rosen bridge ในการย้อนเวลาอีกต่อไป
นอกจากเนื้อเรื่องที่เข้มข้นไปด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ ปรัญชา และฟิสิกต์ของเวลาแล้ว หนังยังท้าทายด้วยการนำเสนอเรื่องราวในรูปแบบสลับไปมาๆระหว่างแต่ละช่วงเวลา เพื่อย้ำให้เห็นว่า ความเป็นอิสระของเวลา
ถึงแม้ว่า Sapir-Whorf hypothesis จะดูเหมือนเป็นเรื่องราวที่ไม่น่าเชื่อ และเหมือนหลอกลวง หลายคนคงคิดว่า จะเป็นไปได้ยังไงที่ภาษาจะมาเปลี่ยนแปลงอะไรๆได้ แต่ก็มีหลักฐานทางภาษาในหลายๆเรื่องที่สนันสนุนสมมติฐานอันนี้
จากการศึกษา Guugu Yimithirr language ซึ่งเป็นภาษาดั้งเดิมของกลุ่มคนในออสเตเรีย เราพบว่า ภาษากลุ่มนี้เป็นภาษาที่ไม่มี Left-Right หรือ Relative Direction หมายความว่า ทุกๆการอ้างถึงทิศทางของคนกลุ่มนี้ เขาจะใช้ทิศทางเหนือ-ใต้-ออก-ตก เสมอ และเมื่อศึกษาลึกๆ เราพบว่า คนกลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าใจ Relative Direction เลยแต่สามารถหาทิศต่างๆได้อย่างแม่นยำ [When Guugu Yimithirr speakers were asked how they knew where north is, they couldn’t explain it any more than you can explain how you know where “behind” is] ref
นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาชนเผ่า Himba ในประเทศ Namibia ซึ่งภาษาของเผ่านี้แตกต่างจากภาษาทั่วๆไป คือ เขาไม่มีคำที่ใช้อธิบายสีฟ้า [no word for blue or distinction between blue and green] ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีฟ้าและสีเขียวได้มาก แต่กลับสามารถแยกความแตกต่างระหว่างกลุ่มสีเขียวได้อย่างแม่นยำ เพราะภาษาของชนเผ่า Himba มีคำที่อธิบายความแตกต่างของสีเขียวมาถึง 11 เฉดสี ref
สิ่งที่น่าตื่นเต้นเหล่านี้ คือ ผลกระทบที่ภาษามีต่อการมองโลกของกลุ่มคนในภาษานั้นๆ และนอกจากนี้ ภาษายังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกหลายๆเรื่อง เช่น ภาษาสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาความเชื่อ และความเป็นอยู่ของคนในสังคมได้อีกด้วย เช่น ในกลุ่มภาษาในเอเชียมักพบสรรพนามมากมายโดนเฉพาะภาษาไทย สรรพนามแต่ละคำใช้สำหรับกลุ่มคนในแต่ละฐานะ ซึ่งแสดงให้เห็นถึง การให้ความสำคัญในเรื่องความอาวุโสของในสังคมไทย
หรือ ในภาษาอังกฤษที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ Tense หรือ ช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์เป็นจุดสำคัญ
ในตอนท้ายของเรื่อง Heptapod ยังย้ำอีกครั้งในประเด็นเรื่องพลังของภาษา ด้วยคำพูดที่ว่า เขามาเพื่อ “เสนออาวุธ” แก่มนุษย์
นอกจากเรื่องทฤษฏีทางภาษาศาสตร์แล้ว Arrival ยังมีองค์ประกอบอีกหลายส่วนที่น่าสนใจ ช่วยเรียบเรียงความคิด และค่อยๆบีบมันออกมา เติมความชัดเจนโดยการป้อนคำถามให้เราตลอดเวลา
ความเป็นวิทยาศาสตร์ของหนังอีกจุดที่น่าสนใจ คือ วิธีการแก้ปัญหาของ Louise ที่ได้รับโจทย์ ในการหาคำตอบ ‘สิ่งนั้นมาเพื่ออะไร’ และ ‘สิ่งนั้นเป็นภัยคุกคามต่อโลกหรือไม่’ แทนที่เราจะรีบเร่งแก้ปัญหาตรงๆ
สิ่งที่ Louise ทำคือ ย่อยองค์ประกอบของคำถาม ทำความเข้าใจรูปแบบของคำถามและคำตอบ แล้วค่อยๆตั้งสมมติฐานในส่วนย่อยๆจนกลายเป็นความเข้าใจในองค์รวม โดยเริ่มจากการสร้างแนวทางในการสื่อสารให้ได้ก่อน โดยเริ่มจาก word ง่ายๆ อย่าง ฉัน/เธอ แล้วค่อยๆหารูปแบบ ซึ่งหนัง sci-fi หลายๆเรื่องมักข้ามในส่วนตรงนี้ไปอย่างน่าเสียดาย
นอกจากนี้แล้ว หนังยังมีการนำเสนอภาพในหลายๆจุด อย่างละเอียด ถึงกับมีที่ปรึกษาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาษามาเป็นคนช่วยออกแบบฉาก //งานดีย์
ประเด็นที่อีกเรื่องที่หนังนำเสนอ คือ ประเด็นทางปรัชญาในเรื่อง Free will หรือ เจตจำนงเสรี มาจากการตั้งคำถามที่ว่า “เรามีชีวิตที่เลือกได้อย่างอิสระจริงๆรึปล่าว? หรือเป็นเพียงบทละครหรือแค่สมการเคมีที่มีผลลัพย์แน่นอนตายตัว?” ในประเด็นนี้เกิดขึ้นหลังจาก Louise เริ่มรับรู้นิมิต และเข้าใจว่าสิ่งที่เห็นเป็นภาพอนาคต ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆแล้วเราจะเปลี่ยนอนาคตได้รึปล่าว?
ถึงแม้ว่า หนังจะไม่ได้เสนอคำตอบสำหรับชัดๆสำหรับคำถามเหล่านี้ แต่แนวคิดหนึ่งที่ Louise บอกเรา คือ แทนที่จะมัวแต่กังวลเรื่องอนาคตและพยายามเปลี่ยนแปลงมัน หันมายอมรับความเป็นไปในปัจจุบัน อยู่กับทุกๆวินาทีนี้ให้ดีที่สุด เส้นทางนี้อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแล้วก็ได้ เราทุกคนอาจจะมีเจตจำนงเสรีในการเลือกเดินตามทางเลือกต่างๆ และการเลือกที่จะเปลี่ยน หรือ ไม่เปลี่ยนอนาคตก็เป็นทางเลือกหนึ่งเหมือนกัน
อวยมาเยอะแล้ว จริงๆ Arrival ก็ไม่ได้เป็นหนังที่ดีที่สุด และไม่ได้เหมาะสมกับทุกๆคน อย่างหนึ่งที่ขัดใจ /me นิดๆคือ ฉากเจรจากับนายพลจีน เรียกได้ทำเป็นจุดที่ทำให้หนังขาดเสน่ห์ที่อุตส่าห์สะสมมาตลอดตั้งแต่ต้นเรื่อง แอบง่ายเกินไปหน่อย ทั้งนี้ด้วยความที่หนังมีความซับซ้อน บวกกับการดำเนินเรื่องแบบเรียบๆในช่วงแรก อาจจะทำให้หลายๆคนหลับไปเลยทีเดียว //ที่นั่งข้างๆ /me หลับไปจริงๆ ToT
และอีกอย่างที่ไม่ชอบ คือ บทของ Ian ซึ่งแสดงโดย Jeremy Renner ซึ่ง /me ติดภาพของ Hawkeye มากมาย พอเห็น Ian ทีก็หมดความอิน ดูไม่ค่อยน่าพิศมัยเท่าไร
และจุดสุดท้าย คือ นกในกรง ทุกครั้งที่มีการคุยกันระหว่าง Louise กับ Abbott/Costello (ชื่อของ Heptapod) จะมีนกในกรงอยู่ตัวนึง ซึ่งแย่งซีนได้อีก แถมยังไม่อธิบายว่าทำไมถึงต้องมีไอ้นกตัวนี้ซะด้วย /me มารู้ภายหลังจาก เอาไว้ใช้ตรวจสอบความเป็นไปได้ที่อากาศในนั้นจะเป็นพิษต่อมนุษย์ แต่เอิ่มมมมมม แย่งซีนจริงๆนะ
โดยรวม 9.5/10 ประทับใจมากมาย //จะออกจะโรงแล้วนะ ถ้าไม่รีบดูก็โหลดบิตเอานะทุกคน //ผิด
ปล. แถมภาพพี่เส้า ver. Arrival